ช่างไฟถูกเถ้าแก่หาว่าว่าง ทำงานแค่วันละ 3 ชั่วโมง เลยไล่ออก 1 ปีผ่านไปเถ้าแก่ก็ต้องร้องโฮด้วยความเสียใจ

LIEKR:

บางงานไม่จำเป็นต้องดูยุ่งตลอดเวลาถึงจะมีประสิทธิภาพ

        ในที่ทำงานหลายคนเคยได้ยินประโยคเช่นนี้ว่า ช่างไฟวัน ๆ ไม่ทำอะไร ไม่สร้างผลกำไรให้บริษัท แต่กลับได้รับเงินเดือนสูง

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

        แต่ผู้เขียนไม่คิดเช่นนั้น ช่างไฟฟ้าเป็นตำแหน่งที่ขาดไม่ได้และมีความสำคัญในบริษัท และด้วยการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย ประสิทธิภาพของช่างไฟฟ้าจึงมีบทบาทสำคัญสำหรับทั้งบริษัท โดยเฉพาะโรงงาน

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

        ไม่นานมานี้ช่างไฟฟ้าอาวุโสในโรงงานแห่งหนึ่ง  ได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานของเขาในฟอรัมที่ทำงาน ช่างไฟเล่าว่า ตัวเองทำงานที่นี่มา 7 ปีแล้ว ส่วนใหญ่รับผิดชอบการบำรุงรักษาเครื่องทุกวัน เพราะพ่อกับปู่ก็เป็นช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็เลยสนใจในเทคโนโลยีมาตั้งแต่เล็ก ๆ หลังจากทำงานในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ก็เห็นอย่างชัดเจนว่ามีฝีมือกว่าคนทั่วไป ทำให้ได้รับคำชมจากคนไม่น้อย

        ก็อย่างที่ทุกคนรู้ งานช่างไฟฟ้า ในสถานการณ์ปกติก็ไม่มีอะไร นี่เป็นสถานการณ์ที่ช่างไฟฟ้าที่ดีควรทำให้เกิด ปกติทุกวันก็จะทำการบำรุงรักษา ซ่อมแซมเครื่องจักร ตรวจสอบหน้าจอ เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ในโรงงานที่เสีย รวม ๆ แล้วเวลาทำงานวันนึงไม่เกิน 3 ชั่วโมง

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

        แต่เถ้าแก่ที่คิดถึงผลกำไรไม่คิดแบบนั้น เขาคิดว่าสิ่งที่ช่างไฟทุ่มเทให้กับงานไม่มากพอกับเงินเดือนที่ได้ แถมพอช่างไฟว่าง ก็ทำให้คนงานคนอื่นรู้สึกไม่ยุติธรรม ก็เลยเรียกช่างไฟอาวุโสมาคุย บอกว่าเขาทำงานวันนึงไม่กี่ชั่วโมง แต่ได้รับเงินเดือน 6,000 กว่าหยวน (ประมาณ 26,000 บาท) ก็เลยตัดสินใจว่าตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป ให้เขาเป็นคนดูแลสุขาภิบาลในโรงงาน ใช้เวลาวันนึงก็ 3-4 ชั่วโมงเหมือนกัน

        ตัวช่างไฟอาวุโสเองปกติก็คอยช่วยงานอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานหลักของตัวเองอยู่แล้ว พอได้ยินเถ้าแก่ขอเช่นนี้ก็โมโห ถามเถ้าแก่ : ถ้าผมไม่ตกลงล่ะ? เถ้าแก่ก็ตอบกลับตรง ๆ งั้นก็ไม่ต้องทำงานและออกไปจากบริษัท.. ช่างไฟอาวุโสก็เลยลาออก

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

        หนึ่งปีต่อมาเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้นในโรงงาน เถ้าแก่ต้องการประหยัดจ้างช่างไฟที่ไม่มีความรู้และฝึมือ ก่อนที่ช่างไฟอาวุโสจะลาออกไปได้มอบหมายให้เขาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ตรวจสายพาน สังเกตสภาพปั๊มระบายความร้อนของเครื่องแต่ละเครื่องเป็นประจำ เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดจากวงจรการระบายความร้อนที่ไม่ดี และก่อนเลิกงานทุกวันต้องตรวจสอบว่าเครื่องจักรถูกดึงเบรครึยัง ซึ่งช่างไฟใหม่ ๆ มักทำไม่ได้

        คืนวันหนึ่งไม่รู้ว่าเกิดไฟไหม้ขึ้นในไลน์การผลิตเมื่อไหร่ รู้อีกทีก็ควบคุมไฟไม่อยู่แล้ว ไลน์การผลิตทั้งหมดพังลง ไม่เหลืออะไรเลย เถ้าแก่โรงงานนั่งร้องไห้โฮกับพื้น โรงงานถูกทำลายอย่างสมบูรณ์

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

        ผู้เขียนเชื่อว่า สำหรับบุคลากรด้านเทคนิคแล้ว เป็นพวกเลี้ยงไว้ใช้งานยามจำเป็น แต่เถ้าแก่หลาย ๆ บริษัทใช้คนไม่เป็น มองแค่สิ่งที่อยู่ข้างหน้าไม่มองให้ไกล ๆ ใช้แรงงานที่มีทักษะเป็นงานหนัก ไม่เห็นคุณค่าของพนักงานที่ใช้ทักษะเหล่านี้ เมื่อเห็นพนักงานอาวุโสที่ดูเหมือนจะสบายตลอดทั้งวันก็ไม่เห็นคุณค่า คิดว่าพนักงานใหม่เชื่อฟังมากกว่า มีศักยภาพในการพัฒนา คิดว่าพนักงานอาวุโสทำงานนานเข้าก็เหมือนแป้งทอดเก่า ๆ รีบเปลี่ยนใหม่จะดีกว่า

        แต่คุณค่าของงานบางอย่าง เช่นงานซ่อมบำรุงเครื่องกลและไฟฟ้า ไม่ใช่เพราะพวกเขายุ่งตลอดเวลา บ่งบอกว่าสถานการณ์บริษัทอยู่ในขั้นดี ในทางกลับกันถ้าพวกเขา “ว่าง” ตั้งแต่เช้ายันเย็น ถึงจะถือเป็นเรื่องดีของบริษัท ซึ่งคำว่า “ว่าง” มีความหมายสองด้าน หนึ่งคือมีฝีมือสูง พอเกิดปัญหา ก็แก้ไขได้ทันที สองคือ “การลับมีดต้องใช้เวลา แต่ก็ทำให้ตัดฟืนได้อย่างรวดเร็ว” เบื้อหลังของความ “ว่าง” คือการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างดี

(เป็นเพียงภาพประกอบเท่านั้น)

        หากช่างไฟฟ้าทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน นั่นไม่เรียกว่าช่างไฟ แต่เป็นช่างซ่อมเบ็ดเตล็ด เพราะต้องการฝึกฝนช่างไฟฟ้าที่มีประสบการณ์และแข็งแกร่งในทางทฤษฎี ต้องเรียนอย่างหนักเป็นเวลาสามปี แถมยังต้องสร้างสมประสบการณ์อีกหลายปีถึงสามารถกลายเป็นช่างไฟฟ้าที่ดี โดยเฉพาะช่างซ่อมบำรุงไฟฟ้า ในระหว่างการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ซับซ้อนบางอย่าง 2 ใน 3 ของเวลาใช้สมองคิด และ 1 ใน 3 คือการลงมือ ถ้าอยากให้ทำงาน 8 ชั่วโมงไม่หยุดมือก็หาช่างซ่อมเบ็ดเตล็ดมาทำงานก็พอ ไม่ต้องการช่างไฟฟ้า

แปลและเรียบเรียงโดย LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ