"นางเงือก" ภรรยาที่ถูกทิ้งไว้ยังเกาะแก้วพิสดาร สุดท้ายแล้ว "พระอภัยมณี" รักใครกันแน่?

LIEKR:

"นางเงือก" ภรรยาที่ถูกทิ้งไว้ยังเกาะแก้วพิสดาร สุดท้ายแล้ว "พระอภัยมณี" รักใครกันแน่?

    หลายคนคงจะเคยสงสัยว่าตกลงแล้ว พระอภัยมณี รักใครกันแน่  แต่ที่จะดูน่าเห็นใจไม่น้อยเห็นทีจะเป็น นางเงือกเป็นนางในวรรณคดีที่โด่งดังและมีบทบาทสำคัญมากอีกคนหนึ่ง ที่เกิดความรักระหว่างคนต่างเผ่าพันธุ์และต่างสัญชาติแต่สุดท้ายกรรมได้บันดาลให้คนเหล่านั้นมาประสบพบเจอก่อนจะจบลงด้วยรัก แต่กาลเวลาได้บีบให้ทุกสถานการณ์ต่างดำเนินต่อไป

    

    เป็นวรรณคดีชิ้นเยี่ยมเรื่องหนึ่งของไทย ผลงานชิ้นเอกของพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประพันธ์ขึ้นเป็นนิทานคำกลอน ส่วนตัวเอกของเรื่องนั่นคือ พระอภัยมณี นั่นเอง หนุ่มผู้รักวิชาดนตรี ชอบการเป่าปี่เป็นชีวิตจิตใจ ชายผู้มากรักและเจ้าชู้ ระหว่างทางเดินเขาได้พบเจอสตรีมากมายและรับนางเหล่านั้นไว้เป็นภรรยาทั้งหมด

    โดยภรรยาเอกของพระอภัยมณี หรือจะเรียกว่า เมียแรกก็ไม่ผิด ภรรยาที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามธรรมเนียม นางมีชื่อว่า นางผีเสื้อสมุทร นางยักษ์ผู้แปลงการให้สามีหลงรัก แต่สุดท้ายผู้เป็นสามีก็พาบุตรชายหนีจากนางไป ทิ้งไว้เพียงภาพทรงจำในอดีตที่เลือนลาง นางจบชีวิตลงด้วยปี่ของสามีกลายเป็นซากหินที่เกาะแก้วพิสดาร นางผีเสื้อสมุทรเป็นตัวแทนของภรรยาแรกที่ไม่ได้แต่ง ในตระกูลพระยามักมีสตรีเหล่านี้กันมาก เรียกอีกชื่อว่า เมียบ่าว

     ภรรยาคนที่ 2 ของพระอภัยมณี คือนางเงือก สตรีสาวผู้มีร่างกายงดงามดุจดอกไม้แรกแย้ม กิริยามารยาทงดงาม เป็นกุลสตรีที่หามิได้ง่ายนัก แม้จะเป็นคนครึ่งสัตว์แต่นางก็มีหัวใจอันบริสุทธิ์ที่มอบให้พระสวามีไปหมดสิ้น ก่อนพระอภัยมณีจากไปได้ฝากนางไว้กับพระฤาษี ต่อมานั้นนางเงือกได้คลอดบุตรนามว่า สุดสาคร

    ภรรยาคนที่ 3 หรือจะเรียกอีกชื่อว่า เมียพระราชทานก็ได้ นางชื่อว่า สุวรรณมาลีเป็นธิดากษัตริย์ ฐานะเสมอกับพระสวามี ถือว่าเป็นสะใภ้หลวงของท้าวสุทัศน์กับมเหสีปทุมเกสรก็ว่าได้ สตรีผู้มีท่าทีสง่างามและสูงศักดิ์ ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใดก็งามพริ้มและสง่างามยิ่ง 

       ภรรยาคนที่ 4 มีชื่อว่า วาลี หญิงผู้มีรูปชั่วตัวดำแต่มีสติปัญญาเป็นเลิศที่สุดในบรรดาภรรยาทั้งหลาย เพราะความมีสติปัญญานี้เองทำให้นางได้รับแต่งตั้งฐานะเป็นพระสนมเอกของพระอภัยมณี 

     ภรรยาคนสุดท้ายชื่อว่า นางละเวงวัณฬา หญิงผู้มีชาติกำเนิดสูงส่งเสมอนางสุวรรณมาลี แต่กำเนิดในเผ่าพันธ์ทางตะวันตก มีจริตกิริยางดงามแบบชาวตะวันตกอาจจะปนความมีจริตมานิดหน่อย สุดท้ายนางก็เป็นภรรยาที่ดีคนหนึ่งของพระอภัยมณี

      ในบรรดาภรรยาของพระอภัยมณี ผู้ที่ได้ชื่อว่าอดทน อดกลั้นและจงรักภักดีต่อสามีที่สุดก็คือ นางเงือก นางเป็นหญิงที่ไร้ซึ่งอำนาจ และวาสนา เป็นเพียงภรรยาน้อยที่ถูกสามีทิ้งไว้หลังเรือนแล้วไปเสวยสุขกับเมียพระราชทานอย่างนางสุวรรณมาลี แม้ยามคลอดลูกก็ยังมิอาจได้พบหน้าสามี วันเวลาที่ผ่านเนิ่นนานก็มิได้ทำให้นางเงือกหยุดสร้างกรรมดีแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามนางยังคงรักษาไว้ซึ่งความดีและเกียรติของสามี มิเคยไปหาคู่ครองใหม่เป็นเงือกหนุ่มๆ

     ยามที่บุตรชายโตพอจะรู้เรื่อง ก็ต้องจากลูกชายอันเป็นที่รัก เพื่อให้บุตรชายได้ตามหาผู้เป็นพ่อ หากเป็นหญิงชาวบ้านทั่วไปก็คงจะมีความหวังเล็กน้อยว่าวันหนึ่งจะได้เสวยสุขกับสามีแม้จะเป็นเมียบ่าวก็ยังดี แต่นางเงือกมิมีความหวังนั้นสักนิด นางเป็นเพียงเงือกที่มิอาจไปไหนได้นอกจากในน้ำ มิอาจอยู่กับลูกได้อย่างแม่ลูกทั่วไป มิอาจได้พบหน้าสามีอันเป็นที่รักได้

.

    พระอภัยมณีได้สอนนางให้รักษาศีล 5 นางเงือกใช้เวลานานกว่าหลายปีในการบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองบุตรชายและสามีของนาง และในที่สุดพระอินทร์ก็เห็นถึงความดีงามของนางเงือก นางผู้เป็นภรรยาและมารดาที่ดี สมควรแก่การยกย่องให้เป็น ยอดหญิงแห่งแผ่นดิน องค์อัมรินทร์จึงทรงเสด็จมายังเกาะแก้วพิสดารและตัดหางปลาออกและเปลี่ยนเป็นขาเหมือนกับมนุษย์ทั่วไป 

    สุดสาครจัดขบวนเสลี่ยงเต็มยศเพื่อรับพระมารดากลับไปยังกรุงลังกาและจัดพระราชพิธีสมโภชและสถาปนาพระยศให้ารดาผู้ให้กำเนิดอย่างยิ่งใหญ่ มียศและพระราชทินนามว่า พระนางจันทวดีพันปีหลวง ส่วนพระอภัยมณี พระมเหสีสุวรรณมาลี พระชายาละเวงวัณฬา ได้ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดและยินดีกับความสมหวังของพระนางจันทวดีพันปีหลวง

       แม้ชีวิตข้างหลังที่ผ่านมาจะทุกข์เวทนา แต่สุดท้ายความดีที่กระทำได้ส่งผลให้ยอดหญิงแห่งแผ่นดินนางนี้ได้พบหน้าสามีและลูกและยังได้เสวยสุขอยู่ในกรุงลังกาอันมั่งมี ชีวิตรันทดของนางเงือกเป็นเครื่องเตือนใจเราได้ดีว่า เมื่อเราทำความดี ความดีนั้นย่อมส่งผลให้เราในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน


คำกลอนจากวรรณคดี

ฝ่ายพระองค์ทรงภุชสุดสาคร จะสมโภชมารดรตามบุราณ

เสด็จออกเสนาพฤฒามาตย์ ให้หมายบาดการใหญ่อันไพศาล

ทั้งเครื่องเล่นเต้นรำประจำงาน ในสถานสารพัดปักฉัตรธง

แล้วสั่งพวกโหราหาดิถี วันที่ดีฤกษ์ยามตามประสงค์

พฤฒารับจับกระดานคูณหารลง เอาฤกษ์ธงชัยตั้งกำลังวัน

ได้ดิถีสี่ค่ำเป็นกำหนด เฉลิมยศในคัมภีร์ดีขยัน

จึงกราบทูลแด่องค์พระทรงธรรม์ ขึ้นสี่ค่ำนามวันพฤหัสบดี

พระทรงฟังสั่งให้ขุนอาลักษณ์ เร่งจำหลักแผ่นทองละอองศรี

จารึกนามมารดาอย่าช้าที โดยคดีแจ้งความตามกระทรวง

ให้รู้ทั่วกรุงไกรไอศวรรย์ พระนามจันทวดีพันปีหลวง

ผู้รับสั่งจัดงานการทั้งปวง โดยกระทรวงบาดหมายรายกันไป ฯ

ที่มา : พระอภัยมณี

บทความที่คุณอาจสนใจ