ไขข้อสงสัย "คราบสีขาว" บนองุ่นคืออะไร กินได้หรือไม่ พร้อมเผยวิธีล้างออกง่ายๆ

LIEKR:

สุดยอดเลยค่ะ

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ  

   องุ่นนับเป็นผลไม้ยอดนิยมของใครหลายคน เพราะเสน่ห์ของรสชาติที่มาพร้อมกับความหวานปนเปรี้ยวหน่อยๆ นอกจากเราจะนิยมรับประทานองุ่นกันแบบสดๆแล้ว ก็ยังได้มีการนำเอาผลองุ่นไปสกัดเป็นเครื่องดื่มอีกมากมายหลายชนิดอีกด้วย 

     ประโยชน์ขององุ่นก็มีมากมายเช่นเดียวกัน อาทิเช่น ในเนื้อองุ่นน้ำตาล ที่ร่างกายมีความต้องการเพื่อที่ร่างกายจะนำเอาไปเผาผลาญกลายเป็นพลังงานนั้นเอง นอกจากนั้นองุ่นก็ยังอุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามิซี แล้วเคยสังเกตหรือไม่ว่าบนผิวขององุ่นนั้นจะมีคราบสีขาวๆติดอยู่ จนหลายคนอาจจะกังวลใจว่ามันจะมีอันตรายหรือไม่ หากรับประทานเช้าไป

คราบสีขาวบนองุ่น คืออะไร?

    คราบสีขาวๆคล้ายฟิล์มบางๆที่เคลือบอยู่บนผลองุ่นนั้นแท้ที่จริงแล้วมันเป็นสารที่เกิดตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า ยีสต์ ซึ่งลักษณะของมันจะมีสีขาวคล้ายแป้ง โดยธรรมชาติแล้วผลไม้หลายๆ ชนิดไม่ว่าจะมะม่วง กล้วยหรือมะละกอนั้น เมื่อสุกเต็มที่ก็จะปล่อยสารยีสต์ออกมาเพื่อป้องกันมด แมลง หรือเพื่อป้องกันดูแลรักษาเปลือกยังคงสภาพให้อยู่ได้นานที่สุด 

     มีผู้รู้และผู้เชียวชาญออกมายืนยันว่าคราบสีขาวที่กล่าวมานั้น ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด นอกเสียจากว่าคราบสีขาวบนผิวองุ่นนั้นจะมีลักษณะขรุขระไม่เรียบเนียนและหากเป็นเช่นนั้นก็ควรที่จะระวัง เพราะว่าคราบสีขาวที่มีผิวขรุขระนั้นอาจจะเป็นคราบของอาหารเสริมพืชที่ใช้ฉีดพ่นทางใบ หรืออาจจะเป็นเคมีเกษตรที่พ่นยาก่อนเก็บเกี่ยวผลองุ่นก็ได้ ดังนั้นเราก็ควรที่จะล้างองุ่นให้สะอาด

วิธีล้างองุ่นให้สะอาด

1.ใช้กรรไกรตัดเพื่อแยกองุ่นออกจากพวง (ล้างง่ายขึ้น)

.

2. ใช้ยาสีฟันใส่ฝ่ามือ

3.ถูยาสีฟันให้ทั่ว

.

5.  ล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด

.

6.  ตักองุ่นออกมาจากกะละมังให้สะเด็ดน้ำออก เพียงเท่านี้ก็ได้องุ่นลูกสวยๆ ไว้ทานแล้วจ้า

.

วิธีที่ 2 ใช้น้ำส้มสายชู และ เบคกิ้งโซดา 

1) นำน้ำใส่กะละมังให้ท่วมพวงองุ่น 

 

2) ใส่น้ำส้มสายชู และเบคกิ้งโซดา อย่างละประมาณ 2 ช้อนตวง

3) ใช้มือถูที่ผลองุ่นเบาๆ คราบขาวจะออกอย่างง่ายดาย

4) รินน้ำทิ้งแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ก็จะได้ผลองุ่นใสปิ๊งน่ากิน

 

ชมคลิป

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<

ข้อมูลและภาพจาก รู้หรือไม่ - DYK

บทความที่คุณอาจสนใจ